3.อิทธิพลทางเพศ

3.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น

3.1 ปัจจัยด้านตนเอง
      1. พัฒนาการทางเพศ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของวัยรุ่น มีผลต่อแรงผลักทางเพศ บทบาททางเพศ และพฤติกรรมทางเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนทางเพศและฮอร์โมนการเจริญเติบโต ทำให้วัยรุ่นแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป
      2. สภาพจิตใจและอารมณ์ จิตใจและอารมณ์ของวัยรุ่น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย บางครั้งดี บางครั้งอารมณ์รุนแรง มีความขัดแย้ง ขณะเดียวกันมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
      3. ผลจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ  วัยรุ่นที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกกระทำทารุณทางเพศ ย่อมกระทบต่อวัยรุ่นทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ซึ่งเป็นผลต่อการดำเนินชีวิตในเรื่องเพศ ทั้งพฤติกรรมทางเพศ บทบาททางเพศและสัมพันธภาพทางเพศ
      4. ผลจากการใช้สารเสพติด  สารเสพติดทุกชนิดนอกจากมีผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมแล้ว สารเสพติดยังส่งผลกระทบโดยตรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ต่อผู้เสพ การใช้สารเสพติดจะเป็นการกระตุ้นอารมณ์ต่างๆรวมทั้งอารมณ์ทางเพศซึ่งมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางเพศ
      5. การขาดการนับถือตัวเอง  วัยรุ่นส่วนมากมักมีความเชื่อมั่นและความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสู ความรู้สึกว่าตนเป็นหนึ่ง อยากให้ผู้อื่นสนใจ ทำให้วัยรุ่นเลียนแบบบทบาททางเพศและพฤติกรรมทางเพศอย่างกว้างขวาง จนบางครั้งขาดการนับถือตนเองและนำไปสู่ปัญหาต่างๆ
      6. การไม่ยึดคุณธรรมจริยธรรม  วัยรุ่นสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รู้จักแยกแยะความดี ความชั่วจากมโนธรรมของตนเอง โดยการเรียนรู้จากการปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว บุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นที่รักใคร่ของคนอื่น สามารถอยู่ในสังคมและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

3.2 ปัจจัยด้านครอบครัว
1. ความสัมพันธ์ในครอบครัว
      ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ พ่อแม่เป็นแบบอย่างของสมาชิกในครอบครัว การแสดงออกด้วยความรัก ความเข้าใจ ห่วงใย จริงใจ และมีความยืดหยุ่นย่อมมีผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกัน มีความรุนแรงในครอบครัวจะส่งผลต่อบุตร ถ้าเป็นวัยรุ่นอาจเกิดปัญหาวัยรุ่นหนีออกจากบ้าน ติดเพื่อน ติดสารเสพติด และมีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยต่างๆ ได้
      ทักษะชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวควรยึดทักษะต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม

2. องค์ประกอบของครอบครัว
      การศึกษา  ครอบครัวที่พ่อแม่มีการศึกษาน้อย ต้องประกอบอาชีพมากกว่าการดูแลให้ความรักแก่ครอบครัว จนทำให้ขาดการอบรมสั่งสอนแก่บุตรหลาน
      สถานะทางเศรษฐกิจ รายได้เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อครอบครัว ความยากจน ทำให้สมาชิกในครอบครัวต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง
      สถานภาพและโครงสร้างของครอบครัว ความแตกร้าวของครอบครัวที่พ่อหรือแม่คนเดียว ทำให้ขาดความรักความสัมพันธ์ที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัว

3. มาตรฐานในการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว
    ค่านิยมทางเพศของพ่อและแม่ มีผลต่อค่านิยมและพฤติกรรมทางเพศของบุตร การส่งเสริมค่านิยมทางเพศที่ถูกต้องให้แก่บุตรจึงเป็นสิ่งสำคัญ
      ศาสนากับการอบรมเลี้ยงดู ศาสนาเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยแนวทางของศาสนา นอกจากจะทำให้เป็นคนดีแล้วยังใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมในอนาคต
      แบบแผนการอบรมเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอนที่เข้มงวดละติดตามดูพฤติกรรมวัยรุ่นจนรู้สึกว่าถูกควบคุมมากเกินไปทำให้เกิดความคับข้องลำบากใจ

3.3 ปัจจัยด้านเพื่อน
      ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพศเดียวกัน วัยรุ่นจะคบเพื่อนอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน มีทัศนคติค่านิยมที่เหมือนกัน การต้องการให้เป็นที่ยอมรับ มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมต่างๆ

      ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่างเพศ วัยรุ่นมักจะมีความวิตกกังวลต่อการคบเพื่อนต่างเพศ การคบหาชอบพอกันในฐานะคนรัก จึงเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดในวัยรุ่น

3.4 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
1. กลุ่มเพื่อน
2. ฐานะทางเศรษฐกิจ
·       การเช่าหอพักอยู่ร่วมกัน
·       ครอบครัวฐานะยากจน
·       การขาดรายได้ ไม่มีงานทำ
3. บรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรม
·       เพศชายควรมีประสบการณ์ทางเพศก่อนแต่งงาน
·       ค่านิยมของการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศในกรณีเพศที่สามเพิ่มขึ้น
·       ตามกระแสสังคมที่ผิดๆ
4. สถานบันเทิง
5. สื่อมวลชน
·       สื่อสิ่งพิมพ์
·       สื่อละคร ภาพยนตร์

·       สื่ออุปกรณ์สื่อสาร


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น